เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา
ฯลฯ ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ สุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
เรายังไม่รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ 5 โดยความเป็นเครื่องสลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง
เพียงใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ 5 โดยความเป็นเครื่อง
สลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยินยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ--
ญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะ1เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า
“เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยสุตตันตบาลี จบ

2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ 2
[14] การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้นว่า “นี้เป็นคุณแห่งรูป”
เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งรูป” เป็นทุกขสัจ การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูปว่า “นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วยการเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ
อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง 3 นี้เป็นมัคคสัจ

เชิงอรรถ :
1 ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรค ผล กิเลส
ที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์) ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ (องฺ.ติก.อ.
2/104/127)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :438 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 2. สัจจกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา ฯลฯ
ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้นว่า “นี้
เป็นคุณแห่งวิญญาณ” เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้วิญญาณที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ” เป็นทุกขสัจ
การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ
ในวิญญาณว่า “นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วย
การเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะ
ทั้ง 3 นี้เป็นมัคคสัจ
[15] คำว่า สัจจะ อธิบายว่า ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการ 3 อย่าง ได้แก่
1. ด้วยมีสภาวะแสวงหา 2. ด้วยมีสภาวะกำหนด
3. ด้วยมีสภาวะรู้แจ้ง
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหา เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติ
เป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดน
เกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ
ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ภพมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :439 }